วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ชาวเผ่า "มอแกน" กลางทะเลอันดามันในประเทศเมียนมาร์





การแบ่งแยกเชื้อชาติชนชั้น เกิดขึ้นในทุกหย่อมโลกจริงๆ
ไม่น่าเชื่อว่า บนเกาะห่างไกลความเจริญ กลางท้องทะเลอันดามันอันสวยงาม ห่างจากฝั่งในเขตประเทศเมียนมาร์กว่า 60 กม. ก็ยังมีให้เห็นอยู่ในทุกวันนี้
บนหาดทรายขาวทอดยาวบนเกาะที่มีพื้นที่ติดๆกัน มีหมู่บ้านชาวพม่า เรียกว่าชาวเกาะเมือง และชาว "มอแกน" ตั้งเรียงรายทอดยาวกว่า 2 กิโลเมตร
3 ใน 4 ของอาณาเขตนี้ เป็นที่อยู่ของชาวเกาะเมืองที่มีความเจริญมากกว่า มีบ้านเรือนที่ปลูกสร้างทันสมัยกว่า มีสิ่งอำนวยความสะดวกแทบจะเท่าคนที่แผ่นดินใหญ่ มีเสื้อผ้า หน้า ผม คล้ายๆกับคนเมือง


ถัดไปในเขต 1 ใน 4 ที่เหลือ
จากทางเดินที่ลาดปูนเรียบตามชายหาดริมทะเล มาสิ้นสุดลงตรงก่อนที่จะถึงอาณาเขตของชาวเลเร่ร่อน "มอแกน"



ซึ่งทุกวันนี้ ชาวมอแกนไม่ได้นอนค้างอ้างแรมอยู่แต่ในเรือเพียงแค่นั้น ยังจำเป็นต้องขึ้นเกาะ เพื่อซ่อมแซม ปรับปรุงเรือ
เรือซึ่งทุกวันนี้ก็ต้องคล้อยตามกระแสโลกด้วยการใช้เครื่องยนต์และเทคโนโลยีต่างๆ หรือพักพิงหลบพายุฝนช่วงมรสุม รวมทั้งสุขอนามัยและต้องพึ่งพาโรงเรียนสำหรับลูกน้อย จึงจำเป็นต้องสร้างที่พักอาศัยที่เป็นหลักแหล่งถาวร
เพียงก้าวข้ามสุดเขตแนวพื้นปูน จะมีระยะ Free Zone ประมาณ 50 เมตร ที่มีแต่ต้นมะพร้าวและวัชพืชรกเลื้อย นั่นคือเขตหมู่บ้าน "มอแกน"
ช่างแตกต่างจากหมู่บ้านชาวเกาะเมืองอย่างเห็นได้ชัด

บ้านที่ปลูกแค่เป็นบ้าน บางหลังยังคงมุงหลังคาด้วยจากด้วยมะพร้าว ไม้ที่นำมาสร้างก็เป็นไม้ที่หาได้จากแถบๆนั้น บางหลังพอมีฐานะขึ้นมาบ้างก็มุงสังกะสี แต่ยังไม่ถึงขั้นมุงกระเบื้องหลากสีแสบตา
เด็กน้อยที่นี่ ดูจะมีมากพอๆกับผู้ใหญ่ บางคนเสื้อผ้าไม่ใส่ ตัวดำเงา ตากลมโต คิ้วเข้ม รับกับใบหน้าทรงเหลี่ยม






แต่ที่น่าเล่าขานนั่นคือวิถีปฏิบัติอย่างเจียมตัวของชาว "มอแกน"
ผู้หลักผู้ใหญ่จะสอนเด็กน้อยของพวกเขาเสมอว่า "ห้าม" เดินหรือวิ่งเล่นเข้าไปในเขตของคนเกาะเมืองโดยเด็ดขาด จะไปได้ก็แต่ผู้ใหญ่ เพื่อซื้อหาหรือแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นบางครั้ง หรือในกรณีฉุกเฉินเพียงแค่นั้น ไม่มีสัมพันธภาพนอกเหนือไปกว่านี้
นั่นคือสิ่งที่ไกด์นำเที่ยวบอกกับเรา ซึ่งทำให้เราต้องถามต่อว่า "ทำไม"
ไกด์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคน ได้เล่าต่อไปว่า ชาว "มอแกน" เค้าเป็นคน "เจียมตน"
เป็นชนที่ช่างแบ่งแยกจริงๆ
#caravanthailandtravel #portodiscovery

วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ภูเขาหิมะ "เหม่ยลี่" หรือ "คาวากาโป"

ภูเขาหิมะ "เหม่ยลี่" เริ่มต้นตั้งแต่เมือง "เต๋อชิง" ยาวไปยังเขตทิเบต มียอดเขาสูงทั้งหมด 13 ยอด ได้ถูกขนานนามโดยชาวทิเบตยุคเก่าว่า " 13 โอรสสวรรค์"












ชาวพื้นเมืองยังได้สร้างเจดีย์ 13 ยอด เพื่อสักการะบูชายอดเขาต่างๆไว้ที่ชานเมืองเต๋อชิงอีกด้วย




ใน 13 ยอดเขาของโอรสสววรค์นั้น มีอยู่ 8 ยอด ที่เป็นที่สักการะและเทิดทูลให้เป็นยอดเขาศักดิ์สิทธิ์สูงสุด และที่สุดใน
แปดภูเขาเทพนั้น มีชื่อว่า "เหม่ยลี่"
และก็มีการสร้างเจดีย์เพื่อบูชายอดเขาเทพทั้ง 8 เช่นกัน





ยอดเขา "เหม่ยลี่" (สตรีผู้งดงาม) หรือ "คาวากาโป" คือสุดยอดภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่ชนชาวทิเบตนับถือเปรียบประหนึ่งเทพเจ้า มียอดที่สูงสุดอยู่ที่ 7,645 MSL (เมตร เหนือระดับน้ำทะเล) ในช่วงความสูงประมาณ 6,000 MSL.ของยอดเขาแห่งนี้ มีธารน้ำแข็ง "หมิงหย่ง" ที่มีความกว้างใหญ่และสวยงาม แถมยังมีชื่อเสียงโด่งดังไม่น้อย






อีก 7 ภูเขาเทพ ก็มีความสูงไม่ต่างกันมากนัก และต่างก็มีชื่อศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งตามความเชื่อในแบบพุทธศาสนานิกายทิเบต เช่น ยอดเขา "เทพธิดา" มียอดสูง 6,054 MSL.


ยอดเขา "เทพธิดา"




ยอดเขา "เศียรพระพุทธเจ้า" มียอดสูง 5,470 MSL.
ขวามือคือ ยอดเขา "เศียรพระพุทธเจ้า"
การมาชมภูเขาหิมะ "เหม่ยลี่" แห่งนี้ ต้องอาศัยโชคค่อนข้างมาก น้อยครั้งเหลือเกินที่นางจะยอมเผยเรือนร่างภายใต้ชุดผ้าบางขาวราวปุยหิมะอย่างสง่างาม อวดโฉมให้ชาวโลกได้ตะลึงกับสิ่งที่ได้เห็น
ผมได้มีโอกาสได้สัมผัสความงามที่ยิ่งใหญ่แบบเต็มๆตาในการเดินทางมาเยือนในครั้งที่ 2 เมื่อปี 2013
เมื่อปี ค.ศ.1994 ได้มีกลุ่มรายการสารคดีชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่น รวมทีมงานและไกด์ท้องถิ่นรวม 17 ชีวิต ได้เข้าพื้นที่เพื่อจะขึ้นไปสำรวจบนยอดเขา โดยใช้เส้นทางธารน้ำแข็งหมิงหย่งเป็นทางเริ่มต้น และกระทั่งปัจจุบันนี้ ทีมดังกล่าวก็ยังไม่มีใครได้กลับลงมา จึงจัดเป็นยอดเขาที่ยังไม่มีมนุษย์คนไหนขึ้นไปพิชิตได้แม้แต่คนเดียว
และนักเดินทางท่องเที่ยวแนวภูเขาจากทั่วโลก ได้ร่วมโหวตให้เทือกเขาแห่งนี้ เป็นเทือกเขาที่สวยงามที่สุดในโลก!!!!
คณะเราขับรถกันมาจาก อ.เชียงของ จ.เชียงราย เข้าสปป.ลาว ผ่าน อ.ห้วยทราย หลวงน้ำทา ข้ามด่านลาว-จีน ที่บ่อเต็น เมืองล่า สิบสองปันนา หลินชาง ต้า ลี่เจียง จงเตี้ยน แชงกรีล่า เต๋อชิง เฟ่ยไหล ระยะถึงตรงนี้จากเชียงราย-เฟ่ยไหลประมาณ 1,650 กม. #caravanthailandtravel #portodiscovery








วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วัดลามะเพลกอ (Palcho Monastery) เมือง Gyangze เขตปกครองตนเองทิเบต


วัดลามะเก่าแก่กว่า 800 ปี แห่งเมือง Gyangze วัดเพลกอ (Palcho Monastery)
เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในแนวเขตชายแดน 3 ประเทศคือ ทิเบต ภูฏาน และเนปาล (อยู่ห่างจากชายแดนประเทศภูฏานเพียง 60 กม.) ในอดีต เมืองนี้เคยเป็นเมืองท่าค้าขายที่คึกคักใหญ่โตและสำคัญมาก
ในช่วงปลายๆยุค50 เคยถูกปกครองโดยชาวอังกฤษ ก่อนที่จีนจะมารวบลัดกินหัวกินหางไปในช่วงกลางยุค 60
วัดแห่งนี้ มีป้อมปราการสร้างพาดบนภูเขารายรอบตัววัดทั้งวัด นี่จึงอาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้วัดนี้รอดพ้นจากการทำลายล้างจากชาวจีนไปได้มั้ง
ใจกลางวัด มีสถูปมัณฑาลาสูงตระหง่าน มีรูปสัญลักษณ์ดวงตราศักดิ์สิทธิ์ที่นำไปสู่การปลดปล่อยวิญญาณให้เป็นอิสระ เป็นแบบเดียวกับที่เมืองกาฎมาณฑุ ประเทศเนปาล
วัดนี้ยังเป็นที่เก็บวัตถุทางศาสนาล้ำค่ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์คำสอนโบราญมากมาย หรือแผ่นหนังจามรีจารึกภาพพระขนาดใหญ่เท่าสนามฟุตบอล ภาพเขียนฝาผนังลายวิจิตรสวยงามที่ผ่านการบูรณะโดยชนรุ่นหลัง ที่ยังคงเค้าโครงแบบต้นฉบับไว้ได้อย่างสวยงาม










ขับรถเล่นที่ทิเบต

ขับรถเล่นที่ทิเบต ขบวนคาราวานเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ ราบลุ่มเจ้าพระยา เลาะตะลุยป่าเขา ผ่านเมืองลาว เข้าจีนไปยาวๆ ฝ่าแนวเขาหิมาลัยไปทะลุหลังคา...